ชื่ออื่นของสาคู: สากู (มลายู-ใต้)
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก
ประโยชน์ของสาคู
แป้งสาคู นับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติและมีความเหนียวสูงสุด การวิเคราะห์หัวสาคู ประเภท “เครโอล” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖๙.๑ เถ้าร้อยละ ๑.๔ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๑.๓ โปรตีนร้อยละแป้งร้อยละ ๒๑.๗สำหรับหัวสาคูประเภท “แบนานา” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๗๒.๐ เถ้าร้อยละ ๑.๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๐.๖ โปรตีนร้อยละ ๒.๒ แป้งร้อยละ ๑๙.๔ แป้งสาคูประกอบด้วยเม็ดยาวรี ยาวประมาณ ๑๕-๗๐ ไมครอน พวก แบนานา มีเม็ดแป้งใหญ่กว่าพวกเครโอล เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผล สีขาว เรียก “แป้งสาคู” นิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่าง ๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรคลำไส้รับประทาน แป้งสาคู นอกจากนี้เราใช้แป้งสาคูทำ “ผงแบเรียม” (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาวและทำ กระดาษ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนมได้ดี ใบและต้น สาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทาน เป็นของ หวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก
Detphiwat โดย http://sakoonaja.blogspot.com/ อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น